
ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) คือ
เครื่องจักร(machine) ที่มีฟังก์ชันทีมีความสามารถในการทำความเข้าใจ เรียนรู้องค์ความรู้ต่างๆ อาทิเช่น การรับรู้ การเรียนรู้ การให้เหตุผล และการแก้ปัญหาต่างๆ เครื่องจักรที่มีความสามารถเหล่านี้ก็ถือว่าเป็น ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) นั่นเอง
เพราะฉะนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า AI ถือกำเนิดขึ้นเมื่อเครื่องจักรมีความสามารถที่จะเรียนรู้นั่นเอง ซึ่ง AI ก็ถูกแบ่งออกเป็นหลายระดับตามความสามารถหรือความฉลาด โดยจะวัดจากความสามารถในการ ให้เหตุผล การพูด และทัศนคติของ AI ตัวนั้นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับมนุษย์อย่างเราๆ
AI ถูกจำแนกเป็น 3 ระดับตามความสามารถหรือความฉลาดดังนี้
1 ) ปัญญาประดิษฐ์เชิงแคบ (Narrow AI ) หรือ ปัญญาประดิษฐ์แบบอ่อน (Weak AI) : คือ AI ที่มีความสามารถเฉพาะทางได้ดีกว่ามนุษย์(เป็นที่มาของคำว่า Narrow(แคบ) ก็คือ AI ที่เก่งในเรื่องเเคบๆหรือเรื่องเฉพาะทางนั่นเอง) อาทิ เช่น AI ที่ช่วยในการผ่าตัด(AI-assisted robotic surgery) ที่อาจจะเชี่ยวชาญเรื่องการผ่าตัดกว่าคุณหมอยุคปัจจุบัน แต่แน่นอนว่า AIตัวนี้ไม่สามารถที่จะทำอาหาร ร้องเพลง หรือทำสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากการผ่าตัดได้นั่นเอง ซึ่งผลงานวิจัยด้าน AI ณ ปัจจุบัน ยังอยู่ที่ระดับนี้
2 ) ปัญญาประดิษฐ์ทั่วไป (General AI ) : คือ AI ที่มีความสามารถระดับเดียวกับมนุษย์ สามารถทำทุกๆอย่างที่มนุษย์ทำได้และได้ประสิทธิภาพที่ใกล้เคียงกับมนุษย์
3) ปัญญาประดิษฐ์แบบเข้ม (Strong AI ) : คือ AI ที่มีความสามารถเหนือมนุษย์ในหลายๆด้าน
ถ้าจะมีเรื่องให้กังวลในอีก 10 ปีข้างหน้า คงไม่ใช่การมานั่งคิดว่าอาชีพไหนบ้างที่มาแรง อาชีพไหนบ้างที่จะหายไป น่าจะเป็นคำถามที่ใช่กว่า .. สิ่งที่เราเคยเห็นในหนังว่าหุ่นยนต์จะครองแรงงานมนุษย์กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ ทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน
ในบ้านเราเริ่มตื่นตัวกับเรื่องของ AI มาสักพักใหญ่ๆ บ้างก็กลัวว่า AI จะเป็นตัวการทำให้มนุษย์ตกงาน เจ้าสมองกลอันชาญฉลาดนี้จะทำให้ชีวิตสะดวกขึ้นเร็วขึ้น แล้วก็น่ากลัวขึ้นหรือเปล่า? ในอนาคตเราจะมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตไร้สายที่น่าเชื่อถือขึ้น เมื่อสิ่งนี้เกิดขึ้นหมายความว่า แม้แต่ในพื้นที่ห่างไกล การถ่ายโอนข้อมูลก็จะยังสามารถทำได้อย่างต่อเนื่อง เราจะเข้าสู่ “ยุคปฏิวัติหุ่นยนต์” อย่างเต็มตัว และจะเกิด Impact กับโลกอย่างมาก
ถ้าคุณอยากรู้ว่างานที่ทำอยู่มีเปอร์เซ็นการโดนกลืนไปมากแค่ไหน ลองแวะเข้าไป Will Robots Take My Job แค่ใส่ตำแหน่งงานที่เราต้องการค้นหา ระบบจะประเมินความเสี่ยงออกมาให้ดูทันที พร้อมคำอธิบายประกอบว่าเพราะอะไร ออกแบบและพัฒนาโดย Dimitar Raykov และ Mubashar Iqbal โดยใช้ฐานข้อมูลจากรายงาน “The Future of Employment: How susceptible are jobs to computerisation?” และจากกระทรวงแรงงานประเทศอเมริกา
AI VS. MACHINE LEARNING
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ เอไอ (AI)
หมายถึง ความฉลาดเทียมที่สร้างขึ้นให้กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต (อ้างอิงจาก วิกิพีเดีย) หรือหุ่นยนต์ที่มีรูปร่างหน้าตา เคลื่อนไหวคล้ายมนุษย์ ใช้แนวคิดการทำงานของสมองของมนุษย์มาประยุกต์เป็นเครือข่ายประสาทเทียม (มีประสาทรับสัมผัสคล้ายมนุษย์ แต่ไม่ใช่ในด้านความรู้สึก) ประมวลผลโดยการแบ่งประเภทของข้อมูล สามารถคิดได้ตามหลักเหตุและผล วิเคราะห์งานที่เกิดการจากการป้อนสูตรเข้าไป เช่น การแก้ปัญหาทางสถิติ ทำหน้าที่เป็นตัวแทนในระบบอัตโนมัติต่างๆ ได้ ในปัจจุบันสามารถสื่อสารได้ด้วยภาษาที่มนุษย์ใช้แล้ว
Machine Learning คือ ศาสตร์แขนงหนึ่งที่ทำให้คอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เมื่อมีข้อมูลใหม่เข้ามาสามารถคิดได้ โดยที่คนไม่จำเป็นต้องไปโปรแกรมมัน Machine Learning มีโปรแกรมที่ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของข้อมูล แล้วสร้างวิธีการตอบสนองต่อข้อมูลขึ้นมาเอง โดยเรียนรู้จาก Data ที่เรา Search หาเยอะๆ มันจะจดจำว่าถ้ามีคำสั่งเข้ามาแบบนี้ คำตอบที่ถูกต้องน่าจะเป็นแบบไหน ตัวอย่างที่เห็นภาพง่ายมาก คือ Search Engine ของ Google หรือ Facebook’s Friend Suggestions ที่เราเห็นกันใน Facebook ของเรา ระบบเลือกมาให้ว่าเราน่าจะรู้จัก
ตัว Machine Learning เป็นการรวมของศาสตร์หลายแขนง เช่น วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรม และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถิติ เพราะมนุษย์กำหนดกฏในการเรียนรู้ของ Machine Learning โดยใช้ Math มากำหนด คอมพิวเตอร์ก็จะใช้กฏนั้นประมวลผลออกมา นอกจากนี้มันยังเชื่อมโยงกับองค์ความรู้อย่างอื่นที่เราต้องการนำไปประยุกต์ใช้ เช่น ชีววิทยา เคมี หลักการตลาด เป็นต้น … เราใช้ Machine Learning ไปเอื้อประโยชน์ใน AI โดยการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ นำไปสู่การตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ต่างกัน ทำให้ AI ฉลาดขึ้น มีสมองเทียมที่เหมือนคนมากขึ้นนั่นเอง
ใครจะอยู่ ใครจะไป ?
งานจิตอาสา งานเพื่อสังคม นางพยาบาล นักบำบัด นักจิตวิทยา งานที่ต้องใช้ทักษะด้านเจรจา และโดยเฉพาะสายอาชีพศิลปะแขนงต่างๆ ที่จะใช้สมองซีกซ้ายในคิดเป็นส่วนใหญ่ อาชีพที่มักใช้อารมณ์ความรู้สึกเข้ามาเกี่ยวข้องกับงาน เช่น Artists, Designers, Engineers ยังอยู่รอดปลอดภัย เพราะอาชีพเหล่านี้อาศัยทักษะพิเศษ การคิดแบบ Original Ideas ยากที่จะลอกเลียนแบบ ไม่มีแพทเทิร์นที่ตายตัว
งาน Routine อาชีพที่ทำงานซ้ำๆ เดิมๆ งานที่ใช้แรงงาน (Blue – collar) ไม่ได้ใช้ความรู้ในระดับเชี่ยวชาญและเฉพาะทางจริงๆ คุณกำลังเข้าข่ายเส้นยาแดง และคุณจะโดนกลืนกิน แทนด้วยเทคโนโลยีในที่สุด เช่น Cashier, Telephone salesperson, คนงานในโรงงาน, คนขับรถแท็กซี่ ยกตัวอย่างให้เห็นภาพขึ้นไปอีก Financial industry (อุตสาหกรรมการเงิน) ก็ถือว่ามีแนวโน้มสูงมากทีเดียว เนื่องจาก Machine Learning สามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงินและเตรียมข้อมูลบัญชี ได้อย่างแม่นยำ โดยไม่ต้องอาศัยนักบัญชี (ที่มีโอกาสคำนวณพลาด) อีกต่อไป ตัวอย่างที่มีเห็นอย่างเด่นชัดคือ ATM และ Mobile Banking ได้เข้ามาแทนที่งานหลายส่วนของมนุษย์ไปแล้วเรียบร้อย
เตรียมตัวรับมืออย่างไรดี ?
จริงอยู่ที่หุ่นยนต์เป็นเลิศด้วยความแม่นยำ ทำงานแบบไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย Robot ทำงานทั้งวี่ทั้งวันก็ไ่ม่มีเสียงโวยวายกลับมา หุ่นยนต์ไม่ต้องการวันหยุด แถมผลผลิตยังไร้ที่ติมากขึ้น หุ่นยนต์ 1 ตัว อาจจะเท่ากับแรงงานคน 10 คน หรืออาจจะมากกว่าด้วยซ้ำ งานจำนวนมากกำลังจะ ถูก AI และ Automation แทนที่ แต่ถึงแม้หุ่นยนต์จะถูกพัฒนาไปอย่างมาก เรายังต้องใช้เวลาอีกนานกว่าเทสจนมั่นใจว่าสามารถแทนที่มนุษย์ได้จริงๆ ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องกลัวหุ่นยนต์
ให้มองว่ามันเข้ามาหย่อนแรง ร่นเวลา เราจะได้เอาเวลาที่เหลือมากขึ้นมาพัฒนาด้านอื่น อย่าลมว่ายังไงซะหุ่นยนต์ก็ถูกสร้างขึ้นมาโดยมนุษย์เรานี่แหละ ต่อให้หุ่นยนต์ฉลาดแค่ไหน ยังไงก็อยู่ในกรอบโปรแกรมที่ถูกใส่เข้าไป ถ้าเราประยุกต์นำเอไอกับมันสมองมนุษย์มาทำงานร่วมกันมันจะทรงพลังมากทีเดียว ใช้ความ Realtime ของเอไอตอบโจทย์ผู้บริโภค ใช้ข้อดีของการไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยบริหารจัดการ และใช้จิตนาการของคน ผลิต Original Ideas ออกมา
ดังคำกล่าวของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ “จิตนาการสำคัญกว่าความรู้” หากมองในภาพของความรู้ ความรู้คือการทำความเข้าใจกับบางสิ่งที่เราอยากจะรู้ หรืออาจจะเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการจะรู้แต่โดนสถานการณ์บังคับให้รับรู้ ส่วนในเรื่องของจิตนาการ คือ “การสังเกต + การเพ้อฝัน” ความฝันของเราอาจเป็นจริงได้หรือไม่ก็ตาม มาจากการสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว เกิดเป็นบ่อความคิดในรูปแบบของการเพ้อฝัน แล้วนำไปต่อยอดการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ในลักษณะความคิดแบบอเนกนัย เรานำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในชีวิตประจำวันในทุกสายอาชีพ ไม่ว่าจะอาชีพไหนก็สามารถหยิบเอาความถนัดของตัวเองมาทำงานร่วมกับความคิดสร้างสรรค์ได้ เช่น ด้านการตลาดและการโฆษณา (Marketing and Advertising)
รู้กันอยู่แล้วว่าในอินเตอร์เน็ทปัจจุบันมีข้อมูลมหาศาล และเปลี่ยนแปลงทุกวัน ให้นักการตลาดมาวิเคราะห์ทุกวันมันคงเป็นไปไม่ได้ แต่เราสามารถใช้ Machine learning ติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคแบบทันที เป็นเครื่องมือช่วยนักการตลาดวิเคราะห์ให้ถูกจุดขึ้นได้ เจ้าหุ่นยนต์อาจจะจดจำข้อมูลได้แบบไร้ขอบเขต แต่ก็ยังไม่มีทักษะทางสังคมและความคิดสร้างสรรค์อยู่ดี ยังคงต้องอาศัยทักษะด้านการพูดโน้มน้าวในการขาย การดีไซน์ และการคิดนอกกรอบให้แตกต่างเพื่อถึงความสนใจจากลูกค้านั่นเอง ซึ่งถ้าคุณไม่รู้จักปรับตัวให้ทัน หุ่นยนต์จะแย่งงานคุณไปอย่างแน่นอน
ที่มา:skillsolved.com